วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563
วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนอนุบาลราชบุรี
โรงเรียนอนุบาลราชบุรี (อังกฤษ: Anuban Ratchaburi School) ตั้งอยู่เลขที่ 411 ถนนยุติธรรม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต1 เปิดสอนตั้งแต่ประดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแผนก English Program
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
ปัจจุบันโรงเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน ดังนี้
- โรงเรียนไม่มีเขตบริการ การรับนักเรียนเข้าเรียนใช้วิธีการจับฉลากและเปิดโอกาสให้นักเรียนด้อยโอกาสรวมทั้งเด็กพิเศษได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ
- รับเด็กเข้าเรียนโดยไม่มีเขตบริการ ใช้วิธีจับฉลากในชั้นอนุบาลปีที่1 จากนักเรียนที่มีอายุครบ 4 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ปีการศึกษานั้น ๆ
- นักเรียนที่มาสมัครเรียนมีสิทธิ์ในการจับฉลากเข้าเรียนทุกคน
- เปิดรับนักเรียนแผนก English Program ในชั้นอนุบาลปีที่1 จากนักเรียนที่มีอายุครบ 4 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 16 พฤษภาคม ปีการศึกษานั้น ๆ โดยการสอบคัดเลือก
ประวัติ[แก้]
- พ.ศ. 2505 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้ 300,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ 008 จำนวน 1 หลัง มี 8ห้องเรียนและ 1 ห้องพักครู ในที่ดินของลูกเสือจังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา เงินงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ โรงเรียนจึงขอใช้เงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนสมทบอีก 100,000 บาท
- พ.ศ. 2506 ได้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ในที่สร้างใหม่ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2506 โดยให้นางสาวอารี โพธิ์วิหก รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1มกราค2506 และได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับจนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529
- พ.ศ. 2512 กรมสามัญศึกษา จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียนอนุบาล แบบ 002 เพิ่มอีกจำนวน 4 ห้องเรียน มีห้องพักครู 1 ห้อง เป็นเงิน 200,000 บาท
- พ.ศ. 2514 กรมสามัญศึกษาจัดสรรเงินงบประมาณ สำหรับต่อเติมอาคารเรียน แบบ 002 เพิ่มอีก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 100,000 บาท และโรงเรียนได้ใช้เงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนสบทบสร้างเพิ่มอีก 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 100,000 บาท
- พ.ศ. 2519 กรมสามัญศึกษา จัดสรรเงินงบประมาณสร้างตึกอาคารเรียนแบบพิเศษ 2 ชั้น จำนวน 1 หลังมี 10 ห้องเรียน พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงิน 1,520,000 บาท
- พ.ศ. 2525 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ 312 กว้าง 7 เมตร ยาว 17.50 เมตร สูง 7 เมตร ให้ 1 หลังและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) ได้ให้เงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2525สบทบอีก 100,000 บาท จึงเพิ่มความยาวอีก 10.50 เมตร เป็น 28 เมตร และจัดทำเป็นห้องเก็บของ 1 ห้อง กว้าง 7 เมตร ยาว 4 เมตร ปีงบประมาณ 2525 ได้รับเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียน 017 ก เป็นอาคารเรียนตึก 2 ชั้น จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,160,000 บาท และสร้างส้วมแบบ 401 จำนวน 1 หลัง มี 8 ที่นั่ง เป็นเงิน 61,600 บาท
- พ.ศ. 2526 ได้รับเงินงบประมาณสร้างส้วม แบบ 602 จำนวน 1 หลัง มี 10ที่นั่ง เป็นเงิน 169,500 บาท
- พ.ศ. 2527 ได้รับเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) สร้างสนามวอลเลย์บอล เป็นเงิน 80,000 บาท
- พ.ศ. 2528 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลังมี 12 ห้องเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นเงิน 2,770,000 บาท
- พ.ศ. 2530 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 12 ห้องเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นเงิน 2,520.000 บาท และอาคารหลังนี้ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี ขอใช้เป็นสำนักงาน
- พ.ศ. 2531 ด้รับเงินงบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัดราชบุรี จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี (ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ) เพื่อสร้างห้องสมุดโรงเรียน เป็นเงิน 80,000 บาท และสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ได้สบทบเพิ่มเติมและใช้วัสดุจากการรื้อย้ายอาคารเรียน แบบ 008 บางส่วนสบทบในการก่อสร้างห้องสมุด
- พ.ศ. 2532 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 206/26 จำนวน 1 หลัง
- พ.ศ. 2534 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง 12 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2538 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. 2/28 เป็นตึก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง มี 15 ห้องเรียน เป็นเงิน 5,400,000 บาท
- พ.ศ. 2540 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้น แบบ สปช. 2/28 จำนวน 1 หลัง มี 18 ห้องเรียน เป็นเงิน 6,224,000 บาท
- นายแฉล้ม สินสมุทร นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี และคณะกรรมการจัดสร้างอาคารโรงอาหาร 2 ชั้น 1 หลัง เป็นเงิน 3,000,000 บาท
- โรงเรียนสร้างห้องน้ำ - ห้องส้วม สำหรับนักเรียนอนุบาล 1 หลัง 8 ที่นั่ง โรงเรียนจัดหาเงินก่อสร้าง จำนวน 130,000 บาท
- พ.ศ. 2541 ได้รับเงินงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างส้วมแบบ สปช. 001 มี 4 ที่นั่ง ราคาหลังละ 110,000 บาท จำนวน 2 หลัง
- พ.ศ. 2542 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี สนับสนุนสร้างศูนย์ไมโครคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต 1 ห้อง 1,000,000 บาท สร้างที่ล้างมือแปรงฟันข้างอาคารอเนกประสงค์ 72,000 บาท ติดตั้งระบบเสียงภายในโรงเรียน 70,000 บาท สร้างห้องเรียนธรรมชาติ 68,000 บาท
- พ.ศ. 2543 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี นับสนุนปรับปรุงห้องสมุดอัตโนมัติ 200,000 บาท สร้างศูนย์คอมพิวเตอร์ระดับอนุบาล 1 ห้อง
- พ.ศ. 2545 สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ต่อเติมอาคารเรียน 3 ชั้น ห้องแสนสนุก 1 หลัง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โรงเรียนสร้างทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารเรียน อาคาร 4 และอาคาร 7 จำนวน 1 ที่ อาคาร 6 และอาคาร 7 จำนวน 1 ที่ เป็นเงิน 120,000 บาท
- พ.ศ. 2546 นางศรีสุดา พุทธานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอนุบาลราชบุรี บริจาคเงิน จำนวน 400,000 บาท สร้างสนามคอนกรีด
- พ.ศ. 2547 ได้จัดสร้างอาคารดอกบัวมินิมาร์ท
- พ.ศ. 2548 สร้างสระเล่นน้ำอนุบาล อ่างล้างมือ ปรับปรุงห้องส้วม เททางเท้า ปรับปรุงสนามเด็กอนุบาล
- พ.ศ. 2550 สร้างโครงหลังคาเหล็ก Metal Sheet คลุมสนามเขียวเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน แบบเขียนเอง โดยใช้เงินรายได้สถานศึกษา จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 2,540,000 บาท
- พ.ศ. 2551 ได้จัดสร้างอาคารเรียน แบบเขียนเอง 3 ชั้น จำนวน 6 ห้องเรียน 2 ห้องพักครู 1 ห้องน้ำ ราคา 3,144,000 บาท โดยใช้งบประมาณเงินรายได้สถานศึกษา
ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]
ลำดับ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นางไสววัลย์ วัฒนพงค์ | พ.ศ. 2486 - 2504 |
2 | นางสาวอารี โพธิวิหก | พ.ศ. 2506 - 2529 |
3 | นางรัมภา ทรงพงษ์ | พ.ศ. 2529 - 2531 |
4 | นางเสมอพร ใจประเสริฐ | พ.ศ. 2531 - 2534 |
5 | นายสมัย จุลคีรี | พ.ศ. 2534 - 2541 |
6 | นายบุญเลิศ อรรคอุดม | พ.ศ. 2541 - 2554 |
7 | นายเสน่ห์ โอฐกรรม | พ.ศ. 2554 - 2558 |
8 | นางปราณี ไทยคุปต์ | พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน |
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
สังคมจะน่าอยู่ก็เพราะพลเมืองดี
(3 พ.ย.62) เฟซบุ๊ก บิ๊กเกรียน เปิดเผยเรื่องราวน้ำใจดีๆ ในสังคม หลังเกิดเหตุนายปราณีต อายุ 58 ปี ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำตกคูน้ำ ล้อชี้ฟ้า บริเวณถนนเส้นทางองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว จ.นครนายก แต่ได้มีพลเมืองดี 3 คน กระโดดลงน้ำเน่า เพื่อเข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุจนรอดชีวิตมาได้อย่าหวุดหวิด
โดยระบุว่า พลเมืองดีได้นำเบาะพนักพิงรองคอ ดำลงไปในน้ำแล้วนำไปทุบกระจกรถให้แตก ก่อนนำร่างคนขับออกมาในสภาพหมดสติ จากนั้นทางเจ้าหน้าที่กู้ภัย กู้ชีพช่วยกันทำ CPR ยื้อชีวิตเอาไว้และนำส่งรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลองครักษ์
สำหรับพลเมืองดีทั้ง 3 คน ทราบชื่อเพียง 2 คน เป็นพ่อลูกกัน ชื่อนายไพบูล หวังแระ และ นายชารีฟ หวังแระ ชาวบ้าน ม.12 ต.พระอาจารย์ อ.องครักษ์ ส่วนอีกคนเป็นคนขับรถบรรทุก ไม่ทราบชื่อ
หลังเรื่องราวถูกเผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตต่างเข้ามาคอมเมนต์ชื่นชม ยกให้ทั้ง 3 เป็นฮีโร่ในชีวิตจริง ขณะที่หลายคนก็เป็นห่วงสุขภาพของพลเมืองดี เนื่องจากกระโดดลงไปในน้ำเน่าสกปรก จึงอยากให้เข้าตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)